ในยุคปัจจุบันเชื่อว่าเราน่าจะเห็นแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนกันอย่างชัดเจน ด้วยเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนิยมการจับจ่ายซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น นั่นเองที่ทำให้ “ธุรกิจขนส่งพัสดุเอกชน” จึงเกิดขึ้นมากมายหลายแบรนด์ และถือเป็นโอกาสทางเลือกให้กับผู้ที่มีฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจที่สร้างรายได้ได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ทั้งนี้ Quick Service เองก็เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนเช่นกัน แต่ข้อดีที่แตกต่าง ที่ทำให้ Quick Service มีความคุ้มค่าน่าลงทุนมากกว่า จนถึงขนาดมีผู้สนใจตัดสินใจลงทุนทุกเดือนไม่ขาดนั้น เป็นเพราะเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. Quick Service ไม่ได้มีรายได้ทางเดียวแค่จากการส่งพัสดุ
แฟรนไชส์ Quick Service ได้รับการออกแบบวิธีสร้างรายได้มาอย่างรัดกุม ด้วยความเชื่อที่ว่า “รายได้ทางเดียวนั้นไม่พอให้ชีวิตมั่นคงได้” จึงทำให้ Quick Service เป็นแฟรนไชส์ที่มีช่องทางในการทำรายได้มากมายกว่า 8 ช่องทาง อาทิ รายได้จากการส่งพัสดุด่วน รายได้จากการเป็นบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส จ่ายบิล เติมเงิน โอนเงิน รายได้จากการแนะนำสินเชื่อบ้านและรถยนต์ รายได้จากการให้บริการต่อ พรบ. ประกันภัย ภาษี ตลอดจนรายได้จากการรับบริการจองตั๋วเครื่องบิน การรับบริการถ่ายรูปด่วน เป็นต้น ซึ่งด้วยการมีช่องทางรายได้มากกว่า 1 ช่องทางนี้เอง จึงทำให้ Quick Service มีโอกาสในการสร้างรายได้ต่อเดือนที่มากกว่า และสร้างรายได้ในระยะยาวที่มั่นคงกว่าแฟรนไชส์ธุรกิจส่งพัสดุอื่นๆ ที่มีช่องทางรายได้เพียงแค่ช่องทางเดียว
2. Quick Service มีต้นทุนในการให้บริการส่งพัสดุที่เป็น 0
แฟรนไชส์ส่งพัสดุด่วนส่วนใหญ่นั้น ผู้ลงทุนจะต้องมีรถวิ่งส่งพัสดุเอง ทำให้มีต้นทุนทั้งค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้หากควบคุมบริหารจัดการต้นทุนได้ไม่ดีพอ ก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีกำไรและมั่นคงได้ แต่สำหรับ Quick Service นั้นแตกต่างออกไป เพราะต้นทุนในการขนส่งพัสดุนั้นไม่มี
เนื่องจาก Quick Service เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับไปรษณีย์ไทย และ Kerry Express จึงทำให้ในแต่ละวัน จะมีรถพัสดุของพันธมิตรมารับพัสดุไปส่งเป็นเข้าระบบงานขนส่งให้เป็นรอบๆ กล่าวคือ Quick Service ใช้ระบบขนส่งของไปรษณีย์ไทย และ Kerry เป็นหลัก จึงทำให้ไม่ต้องมีต้นทุนตรงนี้ ทำให้การให้บริการสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทุกกล่องพัสดุที่ส่งนั้น ผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะได้รับส่วนแบ่งกำไรเสมอ
3. Quick Service เป็นแฟรนไชส์ที่มีพันธมิตรทางการค้าจำนวนมาก
หลักในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น คือการมีพันธมิตรทางการค้าที่แข็งแกร่ง ที่ช่วยเกื้อหนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งสำหรับแฟรนไชส์ส่งพัสดุอื่นทั่วไปนั้นมักไม่ค่อยมีพันธมิตรทางการค้าเท่าไร แต่ Quick Service นั้นแตกต่างออกไป เพราะปัจจุบัน Quick Service เป็นพันธมิตรกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย ที่ทำให้การทำธุรกิจของ Quick Service ประสบความสำเร็จได้ง่ายมากขึ้น อาทิ ไปรษณีย์ไทยและเคอรี่ ที่ทำให้ลูกค้าเลือกส่งในระบบใดก็ได้ตามความเชื่อมั่น
แต่สาขาได้กำไรทุกกล่อง ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ช่วยให้ Quick Service เป็นผู้แนะนำสินเชื่อบ้านและรถยนต์ได้ โดยที่หากลูกค้าสนใจ สาขาก็ไม่ได้ต้องขาย แต่จะมีเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารมาขายได้ แต่สาขาได้ค่าคอมมิสชั่นตอบแทน หรือ Lazada และ Shopee ที่ Quick Service มีฐานะเป็นจุด Drop Off ให้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ขายของบนแพลทฟอร์มของทั้งสองบริษัท สามารถมาฝากส่งพัสดุได้ฟรี แต่สาขาจะได้รายได้ทุกกล่อง โดยที่ก็ไม่ได้จำเป็นต้องไปส่งของเอง เพราะจะมีขนส่งของ Lazada และ Shopee มารับพัสดุเป็นรอบๆ ไป ฯลฯ ด้วยภาพรวมพันธมิตรทางการค้าเหล่านี้เอง จึงทำให้ Quick Service มีความมั่นคงและมีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจได้มากกว่าแฟรนไชส์ส่งพัสดุด่วนอื่นๆ หลายเท่า
ด้วย 3 เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้เอง จึงทำให้สถานภาพของแฟรนไชส์ Quick Service นั้น ดูมีช่องทางทำรายได้ที่มากกว่า และมีต้นทุนในการดำเนินงานบริหารจัดการสาขาที่น้อยกว่าธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนอื่นๆ จึงทำให้แม้หลายๆ คนจะมองว่า “ค่าแฟรนไชส์” ของ Quick Service นั้นสูงกว่า แต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเมื่อประเมินในระยะยาวแล้ว Quick Service จะเป็นแฟรนไชส์ที่มีต้นทุนคงที่หรือไม่ก็ลดลงเรื่อยๆ
ในขณะที่รายได้นั้นมีแต่จะเพิ่มได้มากขึ้นตามช่องทางรายได้ที่มีหลากหลาย ทำให้โอกาสคืนทุนไว กำไรเร็วนั้นมีมากขึ้น แต่ที่สำคัญที่สุดเลยคือความมั่นคงของธุรกิจนั้น Quick Service จัดว่าเป็นแฟรนไชส์ธุรกิจที่มีโอกาสล้มได้ยากมาก เนื่องจากโครงสร้างรายได้และรายจ่ายนั้นมีการออกแบบมาอย่างดี และพิสูจน์ให้เห็นแล้วจากประสบการณ์ร่วม 10 ปี กับ 450 สาขา ที่เปิดและเติบโตมาตลอดจนกระทั่งวันนี้