ปัจจุบันด้วยกระแสของการช้อปปิ้งออนไลน์ จึงไม่น่าจะมีใครกล้าปฏิเสธว่า “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” คือหนึ่งในธุรกิจที่น่าจับตามองและมีแนวโน้มของการเติบโตที่สูงขึ้น ซึ่งจะยังคงสูงขึ้นไปได้เรื่อยๆ อีกนานแสนนานในอนาคต นั่นเองจึงเป็นเหตุผลให้มี “ธุรกิจขนส่งพัสดุเอกชน” เกิดขึ้นมากมายเพื่อเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับคนยุคนี้ โดย Quick Service เองก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น แต่ทั้งนี้ ระบบขนส่งพัสดุของ Quick Service จัดได้ว่ามี แตกต่างจากระบบขนส่งพัสดุของแฟรนไชส์อื่นๆ อยู่ไม่น้อยเลย โดยมีข้อดี ดังต่อไปนี้
1. มีทางเลือกให้ลูกค้าเลือกส่งได้มากกว่า 1 ทาง
โดยปกติแล้วในการส่งพัสดุนั้น เราจะคุ้นเคยกันแต่การเลือกว่าจะ “ส่งธรรมดา” หรือ “ส่งด่วน” เท่านั้น แต่สำหรับการส่งพัสดุกับ Quick Service ลูกค้าสามารถเลือกได้มากกว่าแค่ส่งด่วนหรือส่งธรรมดา โดยยังเลือกได้อีกว่า จะส่งกับขนส่งระบบไหน ระหว่าง “ไปรษณีย์ไทย” กับ “เคอรี่เอ็กซ์เพลส” เนื่องด้วย Quick Service เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการขนส่งพัสดุนี้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกส่งพัสดุกับระบบที่ตัวเองไว้ใจได้ และทำให้การส่งพัสดุนั้นสร้างความมั่นใจกับลูกค้าได้มากขึ้น ก่อให้เกิดความไว้วางใจในการมาใช้บริการซ้ำได้มากขึ้น
2. ผู้ลงทุน ไม่ต้องส่งพัสดุเอง เพราะมีรถพัสดุมารับถึงที่
แฟรนไชส์ขนส่งพัสดุอื่นๆ หลายๆ แฟรนไชส์นั้น ผู้ลงทุนจะต้องเป็นผู้จัดหาพนักงานมาไว้สำหรับส่งพัสดุเอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นคนวิ่งรถเพื่อไปส่งพัสดุให้กับลูกค้าทุกออเดอร์เอง ซึ่งถือว่าเป็นความยุ่งยาก ซับซ้อน กินต้นทุน และเสียเวลาเป็นอย่างมาก จึงทำให้แฟรนไชส์ส่งพัสดุด่วนใดก็ตามที่ยังเป็นระบบนี้นั้น จะไม่สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง ด้วยปัญหาที่จะตามมาจากการส่งพัสดุผิดพลาดและล่าช้า ทั้งนี้ Quick Service นั้นแตกต่างออกไป เพราะผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ไปส่งพัสดุเอง ด้วยการเป็นพันธมิตรกับ ไปรษณีย์ไทยและ Kerry
จึงทำให้เราเป็น “จุดรับส่งพัสดุของทั้ง 2 บริษัทนี้” เมื่อมีผู้มาใช้บริการส่งพัสดุ เราก็เป็นแต่เพียงผู้ที่เก็บพัสดุเอาไว้เท่านั้น แล้วแต่ละวันจะมีรถพัสดุมารับพัสดุไปส่งเป็นรอบๆ ซึ่งจุดนี้เองจึงอำนวยความสะดวกให้กับผู้ลงทุน ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุน และลดปัญหาในด้านการขนส่งลงไปได้มาก เพราะส่งโดยระบบขนส่งของไปรษณีย์ไทยและเคอรี่ ซึ่งเป็นระบบขนส่งของบริษัทระดับประเทศ โดยถึงแม้จะมีปัญหาติดขัดเกิดขึ้น ก็สามารถติดตามได้กับไปรษณีย์ไทย และเคอรี่
3. มีบริการจุดเป็น Drop Off เพิ่มรายได้อีก 1 ช่องทาง
นอกจากรายได้จะระบบขนส่งพัสดุปกติผ่านระบบการขนส่งของไปรษณีย์ไทย และเคอรี่เอ็กซ์เพลสแล้ว แฟรนไชส์ Quick Service ยังมีรายได้เพิ่มอีก 1 ช่องทาง จากการเป็น จุด Drop Off ให้กับทาง Lazada และ Shopee ด้วย โดยพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มของ b สามารถที่จะนำพัสดุมาฝากส่งได้ฟรีที่สาขาของ Quick Service โดยที่สาขาก็ได้รายได้เป็นสิ่งตอบแทน จากการเป็นจุดพักพัสดุในทุกๆ กล่อง ที่สำคัญคือ สาขา Quick Service ก็ไม่ได้ต้องเป็นผู้ส่งพัสดุเหล่านั้นเองด้วย เพราะจะมีรถพัสดุที่เป็นพันธมิตรกับ Lazada และ Shopee มารับพัสดุไปกระจายส่งให้กับลูกค้าแทน จึงทำให้เหมือนเราอยู่เฉยๆ มีหน้าร้าน แล้วก็ได้รายได้จากการมีคนมา Drop Off ฝากพัสดุเอาไว้
4. เรทค่าส่งไม่ได้แพงอย่างที่คิด
หนึ่งในคำถามที่ได้รับการถามบ่อยที่สุดเลยคือ ส่งกับควิกค่าส่งเท่าไร? แพงไหม? คำตอบง่ายๆ ก็คือ ไม่ได้แพงอย่างที่คิด เพราะหากลูกค้าเลือกส่งในระบบของไปรษณีย์ไทยรูปแบบ EMS เรทค่าส่งที่ลูกค้าต้องจ่ายนั้น จะเท่ากันเลยกับที่เคยจ่ายเมื่อไปส่งที่ไปรษณีย์ไทย ส่วนถ้าลูกค้าเลือกระบบส่งเป็นส่งกับเคอรี่ ค่าส่งที่หน้าเคาน์เตอร์ Quick Service จะแพงกว่าส่งตรงที่หน้าเคาน์เตอร์เคอรี่อยู่เล็กน้อย ซึ่งถามว่าลูกค้าจะคุ้มไหม คำตอบก็คือ ด้วยเงื่อนไขทำเลที่ตั้งที่ให้ห่างไกลเคอรี่ และไปรษณีย์ไทย
จึงทำให้หากลูกค้าต้องการส่งถูกกว่า แล้วเสียค่ารถ เสียเวลาไปส่งที่เคอรี่ที่อยู่ไกลๆ ลูกค้าก็จะเลือกส่งกับ Quick Service เองไปโดยปริยาย เพราะสะดวกกว่า และเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเสียเวลาเพิ่มแล้ว ก็คือแทบไม่ต่างกัน ดังนั้น ระบบขนส่งพัสดุของ Quick Service จึงโดดเด่นด้วยเรทราคาค่าส่งที่เป็นกลาง ไม่ได้แพงอย่างที่คิด และลูกค้าก็ยังเลือกส่งได้ด้วยว่าจะส่งในระบบไหน ซึ่งสำคัญเลยท้ายสุดก็คือ ไม่ว่าลูกค้าจะเลือกส่งระบบไหนก็ตาม สาขาจะได้รับเปอร์เซ็นต์รายได้จากพัสดุที่ส่งทุกกล่องอยู่ดี โดยหากส่งในระบบของไปรษณีย์ไทย สาขาจะได้ร้อยละ 10-45 ของค่าส่ง ส่วนถ้าส่งในระบบเคอรี่ สาขาจะได้ร้อยละ 7.5-10 ของค่าส่ง
จากข้อดีของระบบส่งพัสดุของแฟรนไชส์ Quick Service จะเห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนกับระบบส่งพัสดุเอกชนรายอื่นๆ ซึ่งข้อดีทั้งหมดนี้ ไม่เพียงเอื้อประโยชน์แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงรายได้ และการเติบโตของตัวสาขาเองด้วย และเมื่อรวมกับโครงสร้างช่องทางรายได้ของธุรกิจ Quick Service ที่ไม่ได้พึ่งพาเพียงแค่บริการขนส่งพัสดุอย่างเดียว แต่ยังมีช่องทางรายได้อื่นๆ อีกหลายช่องทาง อาทิ บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส จ่ายบิล เติมเงิน โอนเงิน บริการต่อ พ.ร.บ. ประกันภัย ภาษี บริการแนะนำสินเชื่อบ้านและรถยนต์ในฐานะผู้แนะนำสินเชื่ออย่างเป็นทางการกับธนาคารไทยพาณิชย์ ฯลฯ ด้วยช่องทางรายได้ที่หลากหลายเช่นนี้ จึงยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้ Quick Service คืนทุนได้ไว เติบโตได้ง่ายและมั่นคงกว่า แฟรนไชส์ธุรกิจอื่นๆ ในท้องตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน