ในการลงทุนเปิดแฟรนไชส์ แน่นอนว่าต้องมีการเตรียมค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย แม้จะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนทำธุรกิจด้วยตัวเองก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าจะต้องมีการวางแผนค่าใช้จ่ายให้รอบคอบอย่างดีที่สุด ทั้งนี้ สำหรับแฟรนไชส์ Quick Service นั้น มีเพียง 2 สิ่งเท่านั้นที่ต้องจ่าย และสามารถเปิดแฟรนไชส์ทำรายได้ได้เลย ดังต่อไปนี้
1. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ก้อนเดียวจบได้ครบทุกสิ่งพร้อมเปิด
Franchise Fee หรือ ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกๆ แฟรนไชส์เรียกเก็บจากผู้ลงทุน แต่ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าของ Quick Service นั้น ถือว่าแตกต่างจากแฟรนไชส์อื่นๆ พอสมควร เพราะเงินก้อนนี้ไม่ใช้เงินจ่ายเปล่า แต่เป็นเงินลงทุนที่จ่ายมาแล้ว ทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องจ่ายค่าอื่นๆ อีกเลย ไม่ว่าจะเป็น ค่าตกแต่งร้านให้เป็นไปตามมาตรฐานแฟรนไชส์ ค่าอุปกรณ์ ของใช้สำนักงานต่างๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายรูป เครื่องชั่งน้ำหนักพัสดุ เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ ระบบการทำงานทุกอย่าง ตลอดจนเสื้อผ้ายูนิฟอร์มพนักงาน ฯลฯ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จ่ายก้อนนี้ ก้อนแรก และก้อนเดียว ก็สามารถพร้อมเปิดให้บริการได้เลย โดยที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว
2. ค่าธรรมเนียมรายปี
ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับการลงทุนในแฟรนไชส์ Quick Service นั้น จะเก็บเพียงปีละ 5,000 บาท เท่านั้น ซึ่งถ้าหากถามว่าเก็บไปเป็นค่าอะไร ก็ต้องตอบว่า เพื่อเป็นค่าบริการในการให้คำแนะนำปรึกษา ค่าการดูแลระบบออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับระบบการทำงานทุกอย่างในร้าน ตลอดจนเป็นค่าการตลาด และค่าแอดมินที่ส่วนกลางจะคอยตอบคำถาม แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าสาขาที่ติดต่อเข้ามากับทางบริษัท ให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด และรู้จักร้านสาขาในแต่ละพื้นที่ให้ได้มากที่สุด นั่นเอง ซึ่งเงินจำนวนปีละ 5,000 บาทนั้น ถือเป็นค่าธรรมเนียมรายปี ที่น้อยกว่าอีกหลายๆ แฟรนไชส์ และมีส่วนทำให้การลงทุนกับ Quick Service นั้น คืนทุนไว และได้กำไรเร็วมากขึ้น
ความแตกต่างในเรื่องค่าใช้จ่ายของการลงทุนเปิดแฟรนไชส์ Quick Service กับแฟรนไชส์อื่นๆ นั้น คือ มีการเรียกเก็บ “เงิน” จากสาขา น้อยกว่ามาก แม้หลายคนอาจจะรู้สึกว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้าของ Quick Service ที่เรียกเก็บ 235,000 บาทนั้น จะสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อมองให้ลึกลงไปในรายละเอียด ก็จะพบว่า ผู้ลงทุนจะไม่เสียค่าตกแต่งร้าน ค่าอุปกรณ์สำคัญสำหรับการเปิดร้านเลย คือเหมือนค่าธรรมเนียมแรกเข้านั้น เป็นค่าตกแต่ง และค่าอุปกรณ์สำหรับทำให้พร้อมเปิดร้านนั่นเอง ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ Quick Service ไม่มีการเรียกเก็บ “เงินรายงวด” เหมือนที่แฟรนไชส์อื่นๆ เรียกเก็บโดยหักเป็นเปอร์เซ็นต์จาก “รายได้”
ซึ่งตรงจุดนี้เอง จึงทำให้ “สาขาของ Quick Service” ได้รายได้แบบเต็ม ทำให้คืนทุนไว และมีกำไรดี เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง มีกระแสเงินสดหมุนเวียนร้านได้ดี และเพิ่มโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น พิสูจน์ได้จากการได้รับความไว้วางใจที่ทำให้ Quick Service อยู่มาได้เกือบ 10 ปีแล้ว และปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้นกว่า 450 สาขา ซึ่งในแต่ละเดือนก็ยังคงมีสาขาใหม่ทยอยเปิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง